วันพฤหัสบดีที่ 16 กรกฎาคม พ.ศ. 2558

การสอบ PISA 2015

PISA คืออะไร

PISA เป็นชื่อย่อของ Programme for International Student Assessment ซึ่งเป็นผลงานของ OECD (Organization for the Economic Cooperation and Development) ซึ่งเป็นองค์กรของ 34 ประเทศที่พัฒนาแล้วทางเศรษฐกิจ
ในปลายทศวรรษที่ 1990 ประเทศสมาชิกของ OECD มีความคิดที่จะหาวิธีประเมินว่า เด็กอายุ 15 ปีทั่วโลก มีความพร้อมที่จะอยู่ร่วมในสังคมเพียงใด
เหตุที่ PISA เลือกเด็กอายุ 15 ปี แทนที่จะเป็นเด็กอายุ 12 หรือ 17 เพราะเป็นอายุที่เด็กกำลังจะจบการศึกษาภาคบังคับ ผู้เชี่ยวชาญด้านการศึกษาทั่วโลก ช่วยกันสร้างวิธีทดสอบที่ใช้เวลา 2 ชั่วโมง ซึ่งมุ่งเน้นการวัดผลใน 3 วิชาหลัก ได้แก่ ภาษา คณิตศาสตร์ และวิทยาศาสตร์ ประเทศสมาชิกตัดสินใจที่จะจัดการทดสอบนี้ ทุก 3 ปี และมีการสับเปลี่ยนจุดมุ่งเน้นในการทดสอบใน 3 วิชาหลัก

PISA ต่างจากการวัดผลแบบอื่นอย่างไร?

PISA ถูกออกแบบมาเพื่อทดสอบว่า นักเรียนสามารถจะนำสิ่งที่ได้เรียนในห้องเรียน ไปประยุกต์ใช้เพื่อแก้ปัญหาในชีวิต หรือสถานการณ์จริงได้หรือไม่
PISA ไม่สนใจว่านักเรียนจดจำเนื้อหาที่เรียนไปได้มากแค่ไหน แต่ PISA เป็นการทดสอบเพื่อที่จะรู้ว่านักเรียนมีทักษะการอ่านดีพอที่จะอ่านหนังสือ หนังสือพิมพ์ เอกสารราชการ หรือคู่มือสักเล่มหนึ่งเข้าใจหรือไม่
นอกจากนั้น PISA ไม่ได้มีจุดประสงค์ที่จะวัดผลนักเรียนเป็นรายบุคคล แต่ PISA ถูกออกแบบมาเพื่อวัดผลสัมฤทธิ์ในระดับชาติ โดยการวิเคราะห์และขยาย (extrapolate) คะแนนจากกลุ่มตัวอย่าง คะแนนสอบ PISA จะแสดงให้เห็นว่า แต่ละประเทศจัดการศึกษาแก่เด็กนักเรียนของตนเองได้ดีแค่ไหน และเมื่อเทียบกับประเทศอื่น ๆ แล้ว ผลสัมฤทธิ์เป็นอย่างไร

คะแนน PISA คืออะไร และมันบอกอะไรกับเรา

PISA-feature คะแนน PISA คืออะไร และมันบอกอะไรกับเรา
PISA อาจจะไม่ได้ตอบโจทย์ว่า นโยบายหรือวิธีการอะไรที่ส่งผลต่อผลสัมฤทธิ์ทางการศึกษา แต่ เป็นการชึ้นเห็นความเป็นไปได้ ความเหมือนและความต่างเชิงเปรียบเทียบ ระหว่างระบบการศึกษาของประเทศต่าง ๆ ในโลก การเปรียบเทียบเช่นว่านี้ อาจช่วยให้รัฐบาลแต่ละประเทศสามารถคิดหานโยบายหรือวิธีการ เพื่อช่วยปรับปรุงผลสัมฤทธิ์ของนักเรียน

รัฐบาล นักการศึกษา และผู้ปกครองสามารถติดตามความก้าวหน้าของระบบการศึกษาของประเทศตัวเองได้ โดยใช้คะแนน PISA เป็นตัวช่วย
หลายประเทศเริ่มใช้คะแนน PISA ในการตั้งเป้าหมายและวัดผลสัมฤทธิ์ทางการศึกษา แต่ PISA เองไม่ได้เชื่อว่า คะแนนที่ดีจะแปลว่า ระบบการศึกษานั้นประสบความสำเร็จ

PISA เชื่อว่า สิ่งที่สำคัญคือ นักเรียนทุกคน จากทุกภูมิหลัง ทุกฐานะต้องทำคะแนนได้ดี ไม่แต่เฉพาะนักเรียนที่มีฐานะดี มาจากครอบครัวที่มีการศึกษา หรือจากครอบครัวมีความสนใจในศิลปะวัฒนธรรม นักเรียนจากครอบครัวด้อยโอกาส ในฮ่องกง เซี่ยงไฮ้ เกาหลี และฟินแลนด์ ทำคะแนน PISA ได้สูงสุดเป็นจำนวนมาก

นักวิเคราะห์ได้ศึกษาคะแนน PISA และผลจากแบบสอบถามที่ได้รับจากนักเรียนและครูใหญ่ เพื่อค้นหาปัจจัยที่ทำให้ระบบการศึกษาประสบความสำเร็จ: เป็นเพราะครูมีรายได้ดี? ห้องเรียนมีนักเรียนมากหรือน้อย? ผลสัมฤทธิ์ที่แตกต่างระหว่าง ระบบการศึกษาที่โรงเรียนสามารถเลือกเนื้อหาการเรียนการสอนได้ กับระบบการศึกษาที่หลักสูตรถูกกำหนดมาจากศูนย์กลาง
หลังจากที่เราได้ค้นพบลักษณะร่วมกันของระบบการศึกษาที่ประสบความสำเร็จ เราก็สามารถใช้ลักษณะร่วม (Profile) นี้ เป็นต้นแบบให้กับประเทศอื่น ๆ

อย่างหนึ่งที่เราพบจากคะแนน PISA คือ เด็กผู้หญิงมีทักษะการอ่านดีกว่าเด็กผู้ชาย
ในทุก ๆ ประเทศที่เข้าร่วมการทดสอบ และในหมู่ประเทศที่พัฒนาแล้วทางเศรษฐกิจ เด็กผู้หญิงทำคะแนนการอ่านได้ดีกว่าเด็กผู้ชายมาก จนดูเหมือนว่าเด็กผู้หญิงอยู่ในชั้นโตกว่าเด็กผู้ชาย 1 ปี
ขณะเดียวกัน เด็กผู้ชายโดยทั่วไปทำคะแนนคณิตศาสตร์ได้ดีกว่าเด็กผู้หญิง และไม่มีความแตกต่างระหว่างเด็กผู้หญิงและเด็กผู้ชายในวิชาวิทยาศาสตร์

PISA ยังพบว่า นโยบายบางอย่างของโรงเรียน ไม่ได้ส่งผลดีต่อนักเรียน เช่น การวัดผลนักเรียนเพื่อตัดสินว่าเด็กคนไหนควรจะเรียนสายสามัญ หรือสายอาชีพ ที่เริ่มต้นเร็วเกินไป นอกจากจะไม่ส่งผลดีต่อผลสัมฤทธิ์โดยรวม ยังมีผลสร้างให้เกิดความไม่เท่าเทียมมากขึ้นอีกด้วย ระหว่างเด็กนักเรียนจะครอบครัวที่มีความพร้อมและเด็กที่ขาดความพร้อม นักเรียนที่ถูกประเมินเลยมักจะมีความเชื่อผิด ๆ ว่า นักเรียนมีความสามารถในการเรียนรู้ไม่เท่ากัน มีแต่เด็กเก่งและมีความสามารถพิเศษเท่านั้น ที่จะไปถึงดวงดาว

คะแนน PISA พิสูจน์ให้เห็นว่า เด็กทุกคนมีความสามารถจะไปถึงดวงดาวได้ หากได้รับโอกาสและความสนับสนุน
PISA พบว่า การให้เด็กเรียนซ้ำชั้นก็ไม่ได้ช่วยให้คะแนนดีขึ้น โรงเรียนที่ใช้ความพยายามสอนให้เด็กเข้าใจเนื้อหาวิชาที่เรียนในครั้งแรก ในครั้งเดียว จะได้ผลคะแนนดีกว่าโรงเรียนที่ครูสอนเนื้อหาเดิม ซ้ำแล้ว ซ้ำอีก เพื่อให้นักเรียนที่เรียนอ่อนเข้าใจ
อย่างที่เราได้กล่าวมาข้างต้น ว่าโรงเรียนที่ประสบความสำเร็จในความคิดของ PISA คือโรงเรียนที่นักเรียนทำคะแนนได้ดี ไม่ว่าจะนักเรียนจะมีภูมิหลังเป็นอย่างไร

อย่างไรก็ดี การวิเคราะห์ผลคะแนนก็พบว่า ภูมิหลังและฐานะของครอบครัวนักเรียน มีผลต่อคะแนนเป็นอย่างมาก
ตัวอย่างเช่น เด็กอายุ 3 ปี จากครอบครัวที่มีฐานะดี จะได้ยินคำศัพท์มากกว่าเด็กจากครอบครัวด้อยโอกาสที่อายุเท่ากัน และโดยทั่วไป เด็กที่อยู่ในบ้านที่ไม่มีหนังสือ หรือเด็กที่ไม่เคยเห็นพ่อแม่อ่านหนังสือ ก็จะมีแนวโน้มที่จะไม่สนใจอ่านหนังสือเช่นเดียวกัน
PISA พบว่า ไม่ว่าภูมิหลังของเด็กจะเป็นอย่างไร หากเด็กเข้าเรียนในโรงเรียนที่นักเรียนส่วนใหญ่เป็นเด็กด้อยโอกาส ผลคะแนนมักจะต่ำกว่า เด็กที่เข้าเรียนในโรงเรียนของเด็กที่มีฐานะ

ปรากฎการณ์นี้อาจเกิดจากหลายสาเหตุ PISA พบว่า ในประเทศสมาชิก OECD โรงเรียนในชุมชนด้อยโอกาสมีจำนวนครูเท่า ๆ กับหรือมากกว่า โรงเรียนในชุมชนที่มีฐานะดี

ปัญหาไม่ได้อยู่ที่จำนวนครู เพราะครูเก่ง ๆ มักจะสอนอยู่ในโรงเรียนของเด็กฐานะดี ซึ่งเป็นนักเรียนที่มีแนวโน้มที่จะทำคะแนนได้ดีอยู่แล้ว
ครูเก่ง ๆ ไม่ค่อยสอนในโรงเรียนของชุมชนด้อยโอกาส ทั้งที่ชุมชนเหล่านี้ มีความจำเป็นที่ต้องได้ครูเก่ง ๆ มากที่สุด

นอกจากนั้น PISA ยังมีข้อสรุปอีก 2 ข้อที่น่าสนใจสำหรับผู้ที่มีหน้าที่จัดการศึกษาในแต่ละประเทศ

ประการแรก ประเทศที่ไม่รำ่รวย สามารถจัดการศึกษาที่มีคุณภาพสูงให้กับนักเรียนของตัวเองได้ ตัวอย่างเช่น เซี่ยงไฮ้และโปแลนด์ ซึ่งมีคะแนนทักษะการอ่าน สูงกว่าคะแนนเฉลี่ยของ OECD มาก แต่มีรายได้ประชาชาติต่ำกว่าค่าเฉลี่ยของประเทศ OECD

ประการที่สอง คะแนน PISA ของประเทศต่าง ๆ สามารถเปลี่ยนแปลงได้ หลายประเทศ เช่น ชิลี เยอรมัน โปแลนด์ และโปรตุเกส มีคะแนนด้านการอ่านเพิ่มขึ้นอย่างมาก ระหว่างปี ค.ศ. 2000 – 2009

ระบบการศึกษาของประเทศต่าง ๆ ที่ประสบความสำเร็จ มีลักษณะร่วมกันหลายประการ ได้แก่
การให้ความสำคัญกับการจัดการเรียนการสอน

ความเชื่อร่วมกันว่า นักเรียนทุกคนมีความสามารถที่จะเรียนรู้ได้เท่าเทียมกัน
ระบบการศึกษาของประเทศเหล่านี้ให้คุณค่ากับอาชีพครู ลงทุนกับการสร้างครู มีระบบที่สามารถดึงดูดผู้มีความสามารถเข้ามาเป็นครูได้ มีการฝึกอบรมที่ดี และรักษาครูเก่ง ๆ ไว้ในอาชีพได้

เช่นเดียวกับที่นักเรียนทุกคน มีความสามารถที่จะเรียนรู้ได้ ทุกประเทศก็มีศักยภาพที่จะยกระดับมาตรฐานการศึกษาของตัวเอง
PISA จึงเป็นมากกว่าคะแนนทดสอบ และแน่นอนว่า ทุกประเทศที่เข้าร่วมการทดสอบย่อมอยากรู้ว่า นักเรียนของตนเองทำได้ดีแค่ไหน เมื่อเทียบกับนักเรียนประเทศอื่น

แต่เป้าหมายของ PISA ไม่ได้เป็นไปเพื่อสร้างการแข่งขัน แต่มีวัตถุประสงค์เพื่อกระตุ้นให้ประเทศที่เข้าร่วมโครงการ ใช้ผลการทดสอบและข้อสรุปจากการทดสอบ ไปปรับปรุงวิธีการจัดการเรียนการสอน เพื่อให้นักเรียนในประเทศของตน ได้รับโอกาสที่ดีที่สุด ที่จะทำคะแนนได้ดี

ที่มา การเตรียมความพร้อมต่อการเรียนการสอนวิทยาศาสตร์สู่อาเซียน: กรณีศึกษาคะแนน PISA และ O-NET โดย ดร. บัญชา แสนทวี
PISA คืออะไร? สำคัญอย่าง